ผู้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง...ต้องเป็นคู่กรณี !!

(หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2557)

25 ตุลาคม 2559

(หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2557)

ผู้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง ... ต้องเป็ นคู่กรณี !!

คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อนยื่นฟ้ องคดีต่อศาลปกครอง ซึ่งกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะการฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควรหรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด ทั้งนี้ ตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ดังเช่นกรณีที่นายอำเภอได้มีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ฟ้ องคดีซึ่งมีชื่อตามบัตรประจำตัวประชาชนว่า นางสาว ส. และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เลขที่ 289 ออกจากทะเบียนบ้าน โดยให้เหตุผลว่าผู้ฟ้องคดีเป็นบุคคลต่างด้าวสวมตัวมาเป็นเจ้าของชื่อและรายการบุคคลรายนางสาว ช. เพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชน จดทะเบียนสมรสเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุลเป็นชื่อในปัจจุบันผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงนำคดีมาฟ้ องเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาเพิกถอนการจำหน่ายชื่อของตนออกจากทะเบียนราษฎร แต่ก่อนฟ้องคดีคู่สมรสของผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อนายอำเภอประเด็นที่น่าสนใจ คือ

(1) คำสั่งจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนราษฎรเป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ ?
(2) การที่คู่สมรสของผู้ฟ้ องคดีเป็นผู้อุทธรณ์คำสั่ง ถือว่าผู้ฟ้ องคดีดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดก่อนฟ้องคดีหรือไม่ ? ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนราษฎรอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ประกอบข้อ 110 ของระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535 และเป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการอุทธรณ์หรือโต้แย้งคำสั่งไว้เป็นการเฉพาะ ผู้ฟ้ องคดีจึงต้องอุทธรณ์หรือโต้แย้งคำสั่งต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 อันเป็นเงื่อนไขการฟ้องคดีตามที่มาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กำหนดไว้ส่วนการที่คู่สมรสของผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อผู้ถูกฟ้องคดีขอให้คืนสิทธิกรณีถูกจำหน่ายชื่อ ถือว่าได้ดำเนินการอุทธรณ์หรือโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวก่อนฟ้ องคดีต่อศาลปกครองหรือไม่นั้น ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กำหนดว่าผู้ที่จะมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองได้นั้น จะต้องเป็ นคู่กรณีของคำสั่งทางปกครอง กล่าวคือ เป็นผู้ยื่นคำขอหรือผู้คัดค้านคำขอ ผู้อยู่ในบังคับหรือจะอยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง และผู้ซึ่งได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองเนื่องจากสิทธิของผู้นั้นถูกกระทบกระเทือนจากผลของคำสั่งทางปกครองเมื่อคำสั่งพิพาทมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้ องคดีเพียงลำพัง คู่สมรส
ของผู้ฟ้ องคดีจึงมิใช่คู่กรณีของคำสั่ง และไม่ปรากฏหลักฐานการมอบอำนาจของผู้ฟ้ องคดีให้คู่สมรสทำการอุทธรณ์หรือโต้แย้งคำสั่งแทนผู้ฟ้ องคดีได้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ฟ้ องคดีนำคดีมาฟ้ องต่อศาลปกครองโดยยังมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลปกครองจึงไม่อาจรับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาได้ พิพากษายกฟ้อง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 228/2557)

                            คดีนี้ถือเป็นบรรทัดฐานที่ดีสำหรับบุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับของคำสั่งทางปกครองใด ๆ ว่า ก่อนนำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งนั้น จะต้องดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายโดยหากกฎหมายเฉพาะที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการออกคำสั่งกำหนดขั้นตอนและวิธีการอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายนั้น หากกฎหมายเฉพาะไม่ได้กำหนดไว้ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองซึ่งถือเป็นกฎหมายกลางได้กำหนดไว้ และผู้มีสิทธิอุทธรณ์หรือโต้แย้งคำสั่งทางปกครองต้องเป็น “คู่กรณี” ของคำสั่งทางปกครองเท่านั้น เว้นแต่จะได้มีการมอบอำนาจจากคู่กรณี และการที่ผู้อุทธรณ์หรือโต้แย้งมิใช่คู่กรณี ก็มีผลเท่ากับว่ามิได้มีการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองก่อนนำคดีมาฟ้อง ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการฟ้ องคดีตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ที่ศาลปกครองไม่อาจรับไว้พิจารณาได้ครับ !!


                                                                              : นายปกครอง