แบบรับฟังความคิดเห็นในการเสนอขอแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSejCsc3IHsahhMz-hNtzysl_MOPveiH6CNxgwAu9xDYv2jzzQ/viewform?usp=sf_link

10 สิงหาคม 2563

10 สิงหาคม 2563


10 สิงหาคม 2563

  เนื่องจากปัจจุบันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 115/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 ได้เปลี่ยนแปลงหลักการเดิมที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 ส่งผลต่อการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการ ในการทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้องหรือคำสั่งไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา หรือถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์ และถอนฎีกา ของพนักงานอัยการ ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่สามารถอำนวยความเป็นธรรมในคดีอาญาให้กับประชาชน ซึ่งขัดกับหลักการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินภายใน อำนาจหน้าที่ของจังหวัด ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 52/1 (1) และ (2) ซึ่งจะต้องนำภารกิจของรัฐและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์และดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็นธรรมในสังคม และไม่สอดคล้องกับการจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดในการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาของประชาชน ให้เกิดความสงบเรียบร้อยและความเป็นธรรมในเขตจังหวัด เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร อีกทั้ง เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการตรวจสอบถ่วงดุลการสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมยิ่งขึ้น

ส่วนการสอบสวนคดีอาญา สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง จึงขอสอบถามความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1. ยกเลิก มาตรา 145/1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่พิจารณาคำสั่งไม่ฟ้อง ฯลฯ ของพนักงานอัยการตามหลักการเดิมที่กำหนดไว้ในมาตรา 145
2. เพิ่มเติมหลักการตรวจสอบถ่วงดุลคำสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการของผู้ว่าราชการจังหวัดโดยให้มีคณะกรรมการกลั่นกรอง ได้แก่
(1) คดีความผิดทางอาญาที่บุคคลซึ่งเป็นหรือเคยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาเป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหา
(2) คดีความผิดทางอาญาที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหาหรือผู้มีส่วนได้เสียร้องขอความเป็นธรรม
(3) คดีความผิดทางอาญาที่หัวหน้าส่วนราชการซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบการบังคับใช้กฎหมายของกระทรวงที่ตนสังกัด เห็นว่าเพื่อประสิทธิภาพในการปราบปรามการกระทำความผิด
(4) คดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองการสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ตามมาตรา 145 เพื่อเสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ประกอบด้วย ปลัดจังหวัด เป็นประธาน และมีกรรมการซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการจากกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัด สำนักงานยุติธรรมจังหวัด ที่ทำการปกครองจังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านกฎหมายของส่วนราชการซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในเขตจังหวัด และแต่งตั้งนิติกร ที่ทำการปกครองจังหวัดหนึ่งคน เป็นเลขานุการ

ท่านมีความคิดเห็นเป็นประการใดในหลักการดังกล่าวข้างต้น

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSejCsc3IHsahhMz-hNtzysl_MOPveiH6CNxgwAu9xDYv2jzzQ/viewform