แนวทางการดำเนินคดียาเสพติดของพนักงานฝ่ายปกครอง : วิธีการได้มาซึ่งผู้กระทำความผิดจากการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในร่างกาย

ส่วนการสอบสวนคดีอาญา

18 ธันวาคม 2562


18 ธันวาคม 2562

การป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติดในพื้นที่ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักที่สําคัญประการหนึ่งของ ฝ่ายปกครอง ในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลลงสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม แต่ถึงจะมีการ ปราบปรามยาเสพติดมากขึ้นเท่าใด แต่ผลที่ได้กลับพบว่ามีจํานวนผู้เสพติดยาเพิ่มขึ้น ดังนั้น การแก้ไขปัญหายา เสพติดจึงไม่ใช่แต่เพียงวิธีในการปราบปรามอย่างเดียว แต่ต้องใช้หลักการป้องกันควบคู่ไปด้วย เพื่อช่วยให้ผู้ที่ หลงผิดได้แก้ไขปรับปรุงฟื้นฟูสภาพจิตใจและร่างกายให้กลับมาเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศชาติ และ อาจจะส่งผลต่อการแก้ปัญหายาเสพติดที่แพร่ระบาดได้อย่างยั่งยืน เสมือนเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติด ให้แก่ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศ สอดคล้องกับแนวคิดและหลักการทํางานของนายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง ที่กล่าวว่า “…การทํางานในแต่ละครั้งอาจจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของประชาชนคน หนึ่งให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยหน้าที่ของฝ่ายปกครอง คือ การทําให้ทุกข์ของประชาชนน้อยลงและสุข มากขึ้น...” ปัญหายาเสพติดในสังคมไทยเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นอย่างมาก ในการแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืนนั้น พนักงานฝ่ายปกครองในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายหรือ ผู้ปฏิบัติงานที่มีอํานาจตามบทบัญญัติ จําเป็นต้องมีความรู้ ทักษะ ความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่อย่างถูกต้อง ซึ่ง เมื่อได้รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ดังกล่าวแล้ว ต้องสามารถนําหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการตรวจสอบ หรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่ เพื่อมาปฏิบัติตามขั้นตอนการ สืบสวนสอบสวนและบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเคร่งครัด คือ ๑) การตรวจสอบแหล่งที่มา ๒) การสืบสวน ๓) การวางแผน ๔) การตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในร่างกาย ๕) การดําเนินการตามกฎหมาย ทั้งนี้จะทํา ให้ประชาชนได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

อ่านต่อ... บทความ แนวทางการดำเนินคดียาเสพติดของพนักงานฝ่ายปกครอง : วิธีการได้มาซึ่งผู้กระทำความผิดจากการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในร่างกาย