ภาพสไลด์กิจกรรม


ผอ.สน.อส. เข้าร่วมประชุมศูนย์ปฏิบัติการติดตามเร่งรัดการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 2/2567

18 มิถุนายน 2567

วันที่ 18 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 - 12.00 น. ภายใต้การอำนวยการของ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง มอบหมายให้ ร.ต.อ. เขตรัฐ ชาญศิลป์  ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน เข้าร่วมประชุมศูนย์ปฏิบัติการติดตามเร่งรัดการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 2/2567

 

ตามนโยบายรัฐบาลโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินการติดตามแก้ไขปัญหายาเสพติด เร่งรัดการดำเนินงานป้องกัน และปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง รวดเร็ว และเป็นรูปธรรม ระยะเร่งด่วน ในพื้นที่ 25 จังหวัด ในระยะเวลา 3 เดือน ( 1 มิถุนายน - 31 สิงหาคม 2567)

 

โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

 1. การจับกุมตรวจยึดยาบ้า ในห้วง 1- 16 มิ.ย. 2567 สามารถยึดของกลางเป็น ยาบ้า จำนวน 40.57 ล้านเม็ด ไอซ์กว่า 400 กก. เฮโรอีนกว่า 170 กก. ซึ่งมีข้อสังเกตว่า ยาบ้า และ ยาไอซ์ เป็นหีบห่อที่ใช้ในทางภาคใต้และประเทศมาเลเซีย

 2. ผลการดำเนินงานด้านการปราบปราม 25 จังหวัด (ตร.) สามารถดำเนินคดีข้อหาความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดได้ 2,950 คดี (27%) จาก 10,924 คดี ข้อหาสมคบสนับสนุน ช่วยเหลือ 50 คดี (15.29%) จาก 327คดี และการตรวจสอบทรัพย์สินเบื้องต้น 162.89 ล้านบาท

 3. พบการร้องเรียนเจ้าหน้าที่รัฐที่มีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จำนวน 40 ราย ขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว 1 ราย

 4.ในระหว่างวันที่ 1 - 16 มิถุนายน 2567 มีสถิติข่าวผลกระทบจากยาเสพติดในปีงบประมาณ 2567 เพิ่มขึ้นคือ จังหวัดกรุงเทพมหานคร และอุดรธานี

 5. ผลการนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัด โดยมีเป้าหมาย จำนวน 16,016 คน ดำเนินการไปแล้วในห้วง 1-16 มิ.ย. 2567 จำนวน 2,398 คน คิดเป็นร้อยละ 14.97 คงเหลือ 13,618 คน

 6. ผลการนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเข้าสู่กระบวนการบำบัด โดยมีเป้าหมาย จำนวน 6,539 คน ดำเนินการไปแล้วในห้วง 1-16 มิ.ย. 2567 จำนวน 395 คน คิดเป็นร้อยละ 6.04 คงเหลือ 6,144 คน

 7. Best Pratice CBTx ชุมชนล้อมรักษ์ คือ จังหวัดกาญจนบุรี ณ ตำบลเลาขวัญ และตำบลปรังเผล และจังหวัดสงขลา คือ “พะตงโมเดล”

 8. ผลการดำเนินการศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม มีผู้ขอรับความช่วยเหลือ จำนวน 612 คน สามารถดำเนินการได้ 14 คน คิดเป็นร้อยละ 2.29 คงเหลือ 598 คน

 9. การนำผู้เสพในระบบคุมประพฤติเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ในพื้นที่ 25 จังหวัด สามารถดำเนินการได้ 14,094 ราย จาก 57,913  ราย คงเหลือ 43, 819 ราย

 10. ผลการดำเนินการด้านการป้องกัน

 - การจัดระเบียบสังคม สถานบันเทิง/สถานบริการ เป้าหมาย 1,299 แห่ง สามารถดำเนินการได้ 186 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 14.32

 - การจัดระเบียบสังคม สถานประกอบการคล้ายสถานบันเทิง เป้าหมาย 3,763 แห่ง สามารถดำเนินการได้ 701 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 18.63

 - การจัดระเบียบสังคม บริเวณรอบสถานศึกษา เป้าหมาย 2,463 แห่ง สามารถดำเนินการได้ 572 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 23.22

 - การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน/หมู่บ้าน เป้าหมาย 12,626 แห่ง ดำเนินการได้ 1,522 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 12.05

 11. ด้วยปัจจุบันมีการปรับปรุงแก้ไข กฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 โดยแก้ไขสาระสำคัญในเรื่องจำนวนปริมาณยาเสพติดมรามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ จาก 5 หน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินห้าร้อยมิลลิกรัม เป็นไม่เกิน 1 หน่วยการใช้หรือหรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินหนึ่งร้อยมิลลิกรัม ซึ่งมีระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของที่ประชุม

 1. ขอความร่วมมือให้ จังหวัด/กทม. เพิ่มความเข้มข้น และความถี่ในการเปิดการปฏิบัติการ ปิดล้อม ตรวจค้น และจับกุมผู้ค้ายาเสพติด ในชุมชนทุสัปดาห์

 2. ให้ อำเภอ ดำเนินการเข้าไปเร่งรัดประสานงาน ส่งเสริม และสนับสนุนภาคประชาชน ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเสพติด เช่น การเฝ้าระวัง การสอดส่อง การค้นหา และการช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด และผู้ผ่านการบำบัดรักษา เป็นต้น

 3. ขอความร่วมมือ จังหวัด/กทม. ในวันที่ 26 มิถุนายน 2567 จัดกิจกรรมรณรงค์ในการปลุกชุมชนให้ต่อสู่กับปัญหายาเสพติด หรือการจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในวันต่อต้านยาเสพติดโลก

 4. กรณีมีการนำเสนอข่าวผลกระทบจากการใช้ยาเสพติดในพื้นที่ ให้ดำเนินการตรวจสอบ หากพบว่าไม่ได้เกิดจากการใช้ยาเสพติด ขอให้ท่านสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้ประชาชนได้รับทราบ

 5. ขอให้กรมการปกครอง เร่งรัดการจัดสรรงบประมาณจังหวัดเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนงาน

 

สปพ. สน.อส.